การนำเข้าส่งออกข้าว
ประเทศต่างๆ ผลิตและบริโภคข้าวประมาณ 430 ล้านตัน/ปี แต่ส่วนใหญ่เป็นการผลิตและบริโภคภายในประเทศ ปริมาณข้าวที่เหลือสำหรับขายระหว่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 29-30 ล้านตัน/ปี ประเทศที่ผลิตข้าวเป็นดับ 1 คือจีน (ประมาณ 130 ล้านตัน/ปี) และอันดับ 2 คืออินเดีย (ประมาณ 80-90 ล้านตัน/ปี) ส่วนไทยผลิตข้าวมากเป็นอันดับ 6 (ประมาณ 19 ล้านตัน/ปี) แต่เป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก ส่วนคู่แข่งที่สำคัญของไทยมีหลายประเทศเช่น เวียดนาม บราซิล โดยขณะนี้ เวียดนามสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าไทย (ประมาณ 24 ล้านตัน/ปี) และสามารถส่งออกข้าวเป็นอันดับสองของโลก ในขณะที่ประเทศที่นำเข้าข้าวที่สูงที่สุดคือฟิลิปปินส์และไนจีเรีย โดยทั้งสองประเทศนำเข้าข้าวในปี 2552 กว่า 2 ล้านตัน
ข้าวที่ไทยส่งออกนั้น มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมการบริโภคข้าวของประเทศนั้นๆ เช่น ไนจีเรีย เบนิน แอฟริกาใต้ บริโภคข้าวนึ่ง ฟิลิปปินส์ บริโภคข้าวขาว ญี่ปุ่น บริโภคข้าวขาว 100%และส่วนตลาดพรีเมี่ยมคือข้าวหอมมะลิ จะส่งไปยังสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
จุดอ่อนและจุดแข็งของประเทศไทยในการส่งออกข้าว
จุดแข็งของประเทศไทย จุดอ่อนของประเทศไทย
1.ชื่อเสียงของประเทศไทยในการส่งออกอาหาร จนได้ชื่อว่าเป็น “ครัวของโลก” 1.ปลูกข้าวมากเกินไปเพราะรัฐมีมาตรการ ช่วยเหลือกษตรกรตลอดเวลา
2.ข้าวมีคุณภาพดี 2.มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้ต้นทุนสูง
3.มีขั้นตอนการผลิตที่ครบวงจรและเข้มแข็ง 3.ขาดการทำนาขนาดใหญ่ จึงทำให้การผลิตไม่ได้การประหยัดต่อขนาด(economy of scale)
4. สภาพอากาศ/ความหลากหลายของพันธุ์ข้าว/ประสบการณ์การค้าข้าวที่ยาวนาน 4.ไม่มียุทธศาสตร์ในด้านการผลิตและการส่งออกระยะยาว
5.การบริการที่ดี ซื่อตรงต่อผู้ค้า 5.การทุจริตของภาครัฐ (เช่น เรื่องการบริหาร สต๊อกข้าว)
6.สามารถปรับตัวได้กับทุกมาตรฐานสุขภาพที่มีการกำหนดขึ้น
คู่แข่งที่สำคัญของไทย
ประเทศที่เป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกข้าวของไทยในตอนนี้คือ เวียดนาม โดยในปี 2552 ไทยผลิตข้าวได้ 31.65 ล้านตัน (เวียดนาม 38.90 ล้านตัน) ในขณะที่ไทยมีความสามารถในการผลิต 474 กิโลกรัมต่อไร่ (เวียดนาม837 กก./ไร่) ทำให้ราคาข้าวไทยอยู่ทีประมาณ 6,575 –8,715 บาท / ตัน (เวียดนาม 3,960 บาท/ตัน)
สำหรับโครงสร้างการส่งออกข้าวคือ ไทยส่งออกข้าวขาวประมาณ 2.3 ล้านตัน (เวียดนาม 5.3 ล้านตัน) ข้าวหอม 2.6 ล้านตัน (เวียดนาม 2.6 แสนตัน) ข้าวนึ่ง 2.8 ล้านตัน (เวียดนามไม่ส่งออกข้าวประเภทนี้) โดยระหว่างปี 2548 –2552 ไทยส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 (เวียดนามร้อยละ 76.5)
นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้ ไทยยังมีคู่แข่งสำคัญคืออินเดีย ซึ่งขณะนี้งดการส่งออกข้าว ด้วยเหตุผลเพื่อการบริโภคภายในและเก็บสต๊อกเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร ทำให้ไทยครองตลาดข้าวนึ่งในแอฟริกา แต่หากอินเดียเปลี่ยนนโยบายดังกล่าว ตลาดข้าวนึ่งไทยอาจลดลงกว่าร้อยละ 50เนื่องจากข้าวนึ่งจากประเทศอินเดียมีต้นทุนการผลิตและราคาขายต่ำกว่าไทย แม้ว่าคุณภาพจะด้อยกว่า แต่ก็เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพราะราคาถูก
นอกจากนี้ พม่าก็เป็นคู่แข่งที่ควรจับตามอง เนื่องจากในปี 2552 สามารถส่งออกได้ถึง 1 ล้านตัน ทำให้พม่าเริ่มตื่นตัวในการสนับสนุนการส่งออกดังกล่าว และพื้นที่ในพม่ามีการชลประทานธรรมชาติที่ดี อีกทั้งในอดีต พม่าเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกมาแล้ว
___________