Results (
English) 1:
[Copy]Copied!
บทที่ 3เลขทดกุญแจภาพ 3.1 เลขทดที่ได้จากการทดเลขอย่างเป็นระบบ เมื่อทดเลขอย่างเป็นระบบตั้งแต่เลข 1 ถึงเลข 9 ครบทุกช่องว่างในแต่ละจัตุรัส เลขที่ทดอยู่ในช่องว่างคือเลขที่มีโอกาสจะเป็นเลขช่องของช่องว่างนั้น เลขทดกุญแจ เป็นเลขทดตัวหนึ่งหรือเลขทดกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการทดเลขอย่างเป็นระบบซึ่งใช้ไขปริศนาต่อได้ เมื่อไม่สามารถใช้หลักการพื้นฐานของการหาเลขช่องไขปริศนาได้อีก เลขทดกุญแจมี 5 ชนิด ได้แก่ เลขทดเดี่ยว เลขทดแฝด เลขทดแฝดคู่ เลขทดกลุ่ม และเลขทดตองภาพ 3.2 เลขทดเดี่ยวที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วม 1. เลขทดเดี่ยว1.1 เลขทดเดี่ยวที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วม ปริศนาซูโดกุตัวอย่างที่ 1 เมื่อทดเลขอย่างเป็นระบบตั้งแต่เลข 1 ถึงเลข 9 ครบทุกช่องว่างในแต่ละจัตุรัส จ 8 ช 3 มีเลขทด 3 เพียงตัวเดียว หรือเป็นเลขทดเดี่ยว 3 ของ จ 8 ช 3 แสดงว่าเลข 3 เพียงตัวเดียวที่มีโอกาสเป็นเลขช่องของช่องนี้ เลข 3 จึงเป็นเลขช่องของ จ 8 ช 3 เลขทดเดี่ยว 3 ใช้ลบเลขทด 3 ใน จ 8, น 7 และ ต 6 เลขทดเดี่ยวในช่องว่างที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วมต้องเป็นเลขช่องของช่องว่างนั้น และใช้ลบเลขทดตัวเดียวกันกับเลขทดเดี่ยวที่อยู่ในพื้นที่ครอบคลุมภาพ 3.3 เลขทดเดี่ยวที่มีเลขตัวอื่นทดร่วม1.2 เลขทดเดี่ยวที่มีเลขตัวอื่นทดร่วม ปริศนาซูโดกุตัวอย่างที่ 1 น 7 มีเลขทด 1 เพียงตัวเดียวอยู่ใน น 7 ช 1 หรือเป็นเลขทดเดี่ยว 1 ของ น 7 แสดงว่าเลข 1 ตัวนี้เพียงตัวเดียวที่มีโอกาสเป็นเลขช่อง 1 ของ น 7 เลข 1 จึงเป็นเลขช่องของ น 7 ช 1 ถึงแม้จะมีเลข 3 และเลข 6 ทดร่วม เลขทดเดี่ยว 1 ใช้ลบเลขทด 3, 6 ใน น 7 ช 1 (เลขช่อง 1 ทำให้เลขทด 3, 6 ใน น 7 ช 1 หายไป) และลบเลขทด 1 ใน จ 7 เลขทดเดี่ยวที่มีเลขตัวอื่นทดร่วมต้องเป็นเลขช่องของช่องว่างที่มีเลขทดเดี่ยว และใช้ลบเลขทดร่วมและเลขทดตัวเดียวกันกับเลขทดเดี่ยวที่อยู่ในพื้นที่ครอบคลุมภาพ 3.4 เลขทดแฝดของจัตุรัสในแถวนอนเดียวกัน2. เลขทดแฝด2.1 เลขทดแฝดของจัตุรัสในแถวนอนหรือแถวตั้งเดียวกัน ปริศนาซูโดกุตัวอย่างที่ 1 จ 9 มีเลขทด 6 ใน จ 9 ช 5, 6 เพียง 2 ช่องเท่านั้น หรือเป็นเลขทดแฝด 6 ของ จ 9 แสดงว่าช่องใดช่องหนึ่งของ 2 ช่องนี้ต้องมีเลข 6 เป็นเลขช่อง แต่ทั้ง 2 ช่องนี้อยู่ในแถวนอนเดียวกันคือ น 8 พื้นที่ครอบคลุมของเลขทดแฝด 6 ใน น 8 จึงมีเลข 6 ทดอยู่ไม่ได้ เลขทดแฝด 6 ใช้ลบเลขทด 6 ใน น 8 เลขทดแฝดของจัตุรัสที่อยู่ในแถวนอนหรือแถวตั้งเดียวกันใช้ลบเลขทดตัวเดียวกันกับเลขทดแฝดในแถวนอนหรือแถวตั้งนั้นภาพ 3.5 เลขทดแฝดของแถวนอนในจัตุรัสเดียวกัน2.2 เลขทดแฝดของแถวนอนหรือแถวตั้งในจัตุรัสเดียวกัน ปริศนาซูโดกุตัวอย่างที่ 1 น 3 มีเลขทด 8 ใน น 3 ช 8, 9 เพียง 2 ช่องเท่านั้น หรือเป็นเลขทดแฝด 8 ของ น 3 แสดงว่าช่องใดช่องหนึ่งของ 2 ช่องนี้ต้องมีเลข 8 เป็นเลขช่อง แต่ทั้ง 2 ช่องนี้อยู่ในจัตุรัสเดียวกันคือ จ 3 พื้นที่ครอบคลุมของเลขทดแฝด 8 ใน จ 3 จึงมีเลข 8 ทดอยู่ไม่ได้ เลขทดแฝด 8 ใช้ลบเลขทด 8 ใน จ 3 เลขทดแฝดของแถวนอนหรือแถวตั้งที่อยู่ในจัตุรัสเดียวกันใช้ลบเลขทดตัวเดียวกันกับเลขทดแฝดในจัตุรัสนั้น เลขทดแฝดเป็นกุญแจไขปริศนาซูโดกุที่สำคัญมาก ถ้าเลขทดแฝดอยู่ในจัตุรัสเดียวกัน ให้วงกลมรอบตัวเลขที่เป็นเลขทดแฝดทั้ง 2 ตัวเพื่อให้เห็นชัดเจน และไม่พลาดการนำไปใช้ไขปริศนาภาพ 3.6 เลขทดแฝดคู่ที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วม
3. เลขทดแฝดคู่
3.1 เลขทดแฝดคู่ที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วม
ปริศนาซูโดกุตัวอย่างที่ 1
ต 7 มีเลขทดแฝด 4 และเลขทดแฝด 9 ใน ต 7 ช 1, 4 ซึ่งเป็นช่อง 2 ช่องเดียวกัน หรือเป็นเลขทดแฝดคู่ 4, 9 ของ ต 7 ถ้าช่องหนึ่งมีเลข 4 เป็นเลขช่อง อีกช่องหนึ่งต้องมีเลข 9 เป็นเลขช่อง หรือถ้าช่องหนึ่งมีเลข 9 เป็นเลขช่อง อีกช่องหนึ่งต้องมีเลข 4 เป็นเลขช่อง ช่อง 2 ช่องนี้จึงมีเพียงเลข 4 และเลข 9 เท่านั้นเป็นเลขช่อง พื้นที่ครอบคลุมของเลขทดแฝดคู่ 4, 9 ใน ต 7 จึงมีเลข 4 และเลข 9 ทดอยู่ไม่ได้ เลขทดแฝดคู่ 4, 9 ใช้ลบเลขทด 4 และเลขทด 9 ใน ต 7
เลขทดแฝดคู่ที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วมใช้ลบเลขทดตัวเดียวกันกับเลขทดแฝดคู่ในจัตุรัส, ในแถวนอน หรือในแถวตั้งที่มีเลขทดแฝดคู่
ภาพ 3.7 เลขทดแฝดคู่ที่มีเลขตัวอื่นทดร่วม
3.2 เลขทดแฝดคู่ที่มีเลขตัวอื่นทดร่วม
ปริศนาซูโดกุตัวอย่างที่ 1
จ 5 มีเลขทดแฝด 6 และเลขทดแฝด 9 ใน จ 5 ช 3, 7 ซึ่งเป็นช่อง 2 ช่องเดียวกัน หรือเป็นเลขทดแฝดคู่ 6, 9 ของ จ 5 ที่มีเลข 1, เลข 3 และเลข 8 ทดร่วม ถ้าช่องหนึ่งมีเลข 6 เป็นเลขช่อง อีกช่องหนึ่งต้องมีเลข 9 เป็นเลขช่อง หรือถ้าช่องหนึ่งมีเลข 9 เป็นเลขช่อง อีกช่องหนึ่งต้องมีเลข 6 เป็นเลขช่อง ช่อง 2 ช่องนี้จึงมีเพียงเลข 6 และเลข 9 เท่านั้นเป็นเลขช่อง พื้นที่ครอบครอง ของเลขทดแฝดคู่ 6, 9 ใน 2 ช่องนี้จึงมีเลขตัวอื่นทดร่วมด้วยไม่ได้ เลขทดแฝดคู่ 6, 9 ใช้ลบเลขทด 1, เลขทด 3 และเลขทด 8 ที่ทดร่วม
เลขทดแฝดคู่ที่มีเลขตัวอื่นทดร่วมใช้ลบเลขทดร่วมในช่องที่มีเลขทดแฝดคู่
เลขทดแฝดคู่เป็นกุญแจไขปริศนาซูโดกุที่สำคัญมากเช่นกัน ถ้าเลขทดแฝดคู่อยู่ในจัตุรัสเดียวกัน ให้วงกลมรอบช่องทั้ง 2 ช่องที่มีเลขทดแฝดคู่เพื่อให้เห็นชัดเจนและไม่พลาดการนำไปใช้ไขปริศนา
ภาพ 3.8 เลขทดกลุ่มที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วม
4. เลขทดกลุ่ม
4.1 เลขทดกลุ่มที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วม
ปริศนาซูโดกุตัวอย่างที่ 1
จ 5 มีเลขทด 1, 3, 8 เพียง 3 ตัวเลข อยู่ใน จ 5 ช 2, 5, 8 เพียง 3 ช่อง หรือเป็นเลขทดกลุ่ม 1, 3, 8 ของ จ 5
ถ้าเลข 3 เป็นเลขช่องของ จ 5 ช 2 หรือ จ 5 ช 5 อีก 2 ช่องที่เหลือจะมีเลข 1 และเลข 8 เป็นเลขช่อง
ถ้าเลข 8 เป็นเลขช่องของ จ 5 ช 2 หรือ จ 5 ช 8 อีก 2 ช่องที่เหลือจะมีเลข 1 และเลข 3 เป็นเลขช่อง
ถ้าเลข 1 เป็นเลขช่องของ จ 5 ช 5 หรือ จ 5 ช 8 อีก 2 ช่องที่เหลือจะมีเลข 3 และเลข 8 เป็นเลขช่อง
ช่อง 3 ช่องนี้จึงมีเลข 1, เลข 3 และเลข 8 เท่านั้นเป็นเลขช่อง พื้นที่ครอบคลุมของเลขทดกลุ่ม 1, 3, 8 ใน จ 5 จึงมีเลข 1, เลข 3 และเลข 8 ทดอยู่ไม่ได้ เลขทดกลุ่ม 1, 3, 8 ใช้ลบเลขทด 1, เลขทด 3 และเลขทด 8 ใน จ 5
เลขทดกลุ่ม 1, 3, 8 ของ จ 5 ยังเป็นเลขทดกลุ่ม 1, 3, 8 ของ ต 5 ด้วย และใช้ลบเลขทด 1, เลขทด 3 และเลขทด 8 ใน ต 5
เลขทดกลุ่มที่ไม่มีเลขตัวอื่นทดร่วมจะอยู่ในจัตุรัส, แถวนอน หรือแถวตั้งเดียวกัน ช่องว่างที่มีเลขทดกลุ่มจะมีจำนวนช่องเท่ากับจำนวนตัวเลขที่ประกอบกันเป็นเลข
Being translated, please wait..
