Results (
Thai) 1:
[Copy]Copied!
นอาหารอย่างไร... ถึงจะไม่ต้องกลัวมะเร็ง ความรู้เกี่ยวกับการทำอาหารและการเลือกทานอาหารสำหรับผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งนั้นได้ถูกตีพิมพ์แพร่หลายได้มีการทำวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมานานกว่า 10 ปีแล้วแต่ผู้คนมักไม่ทราบหรืออาจเพราะไม่ได้สนใจว่าควรต้องกินอย่างนั้นไม่คิดว่าตัวเองอยู่กลุ่มผู้มีความเสี่ยงทั้งที่จริงๆ แล้วอาจมีผู้คนในสังคมที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากถึงร้อยละ 90 ก็ว่าได้ทั้งที่เป็นปัจจัยมาจากพันธุกรรมและปัจจัยเสริมภายนอกเช่นสภาวะมลพิษสารพิษปนเปื้อนในอาหารสภาวะอากาศและสภาวะความเครียดโดยสามารถเกิดโรคมะเร็งได้แทบทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่มะเร็งในเม็ดเลือดตับปอดสมองลำไส้(ส่วนมากเป็นลำไส้ใหญ่)มดลูกทรวงอกรังไข่อัณฑะซึ่งอันดับยอดฮิตในผู้ชายก็คือมะเร็งปอดตับลำไส้อัณฑะส่วนในผู้หญิงก็คือมะเร็งทรวงอกมดลูกรังไข่ตับลำไส้จะสังเกตได้ว่าผู้หญิงมีส่วนของอวัยวะที่เกิดมะเร็งได้มากกว่าผู้ชายเสียอีกไม่ได้แข่งกันเอาโล่ห์แต่ความฮิตของมะเร็งที่เกิดในแต่ละจุดของร่างกายก็ขึ้นๆ ลงๆ แย่งอันดับกันอยู่ตลอดเวลาสังเกตอีกนิดส่วนที่เกิดมะเร็งได้ง่ายมักเป็นส่วนที่ไม่ค่อยได้ขยับมากนักเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ อีกทั้งเป็นส่วนที่เกิดการกระทบกระทั่งเสียดสีมากมีการสัมผัสหรือปนเปื้อนด้วยไขมันหมักหมมเป็นเวลานานเซลของเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวจึงเจริญเติบโตในแบบที่แปลกไป หากจะอนุมานสาเหตุการเกิดมะเร็ง ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยความคิดเห็นส่วนตัว ก็คิดว่าเกี่ยวกับสุขนิสัยการทาน การออกกำลังกาย การขับถ่ายและการทำกิจวัตรประจำวันตามปรกติ ผู้ชอบทานอาหารเยอะ ๆ ในคราวเดียว อีกทั้งอาหารที่ทานมีความมันจัด เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด และชอบทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก ทำงานนั่งเก้าอี้นาน ๆ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ยังไม่นับเรื่องการนอนดึก ความเครียดจากการทำงาน และการขับถ่ายไม่ได้ตามเป็นปกติ เพราะร่างกายไม่ได้ขยับเขยื้อนมากพอ ลำไส้ไม่เกิดการขยับและเคลื่อนตัว ก็ไม่ปวดอุจจาระเลย การเก็บอุจจาระไว้หมักหมมในลำไส้นาน ๆ บางคนที่รู้จัก ไม่ถ่ายนานเกือบ 10 วัน ทำให้เกิดภาวะเป็นกรด จากการมีอาหารที่ย่อยแล้วบูดเน่า ทั้งพวกไขมันและซากเนื้อสัตว์บวกกับพริก น้ำปลา มะนาว น้ำส้ม ฯลฯ ที่ไหลผ่านลำไส้เล็กมาแล้ว หมักผสมกันอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ ไม่ต่างอะไรจากไหหมักปลาร้ารสแซ่บเลย เมื่อหมักได้ที่ทั้งกรดและสารที่ตกค้างอยู่ในกากอาหารเหล่านั้นก็ถูกดูดซึมผ่านลำไส้เข้าไปใหม่ คราวนี้มันไม่ได้เป็นสารอาหาร แต่มันเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อสารพวกนี้ต้องไปถูกสกัดโดยไต และตับ มันก็ไปสะสมต่อที่นั่น หากมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เซลของอวัยวะเหล่าดูดซึมเข้าไปแล้วเจริญเติบโตผิดปกติ นั่นก็เป็นชัยชนะของมะเร็งไปแล้ว คุณจะไม่มีทางรู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งระยะที่หนึ่ง เพราะมันยังไม่ออกอาการ ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นระยะที่สองไปแล้ว ดังนั้นหากเราจะจัดการกับมะเร็งเมื่อเป็นมะเร็งแล้ว จึงกลายเป็นเรื่องยาก ทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเสียชีวิตเพราะหมดกำลังใจ มากกว่าจะเสียชีวิตเพราะความทรมานที่เกิดจากผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งเสียอีก เราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพด้วยการปฎิบัติตัวในวิถีที่เซลมะเร็งไม่ชอบ เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่สะอาดปราศจากสารเคมีปรุงแต่ง ไม่มีไขมันที่ได้จากสัตว์ ทานเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมันและไม่ได้เลี้ยงด้วยอาหารที่สารเคมีปนเปื้อน หันมาทานพวกผักผลไม้สดให้มากขึ้น เลี่ยงที่จะทานเนื้อสัตว์ปริมาณมากและบ่อย ๆ ไม่ทานอาหารมากเกินความหิว นอนพักผ่อนเพียงพอ รู้จักปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน ไม่นั่งทำงานนาน ๆ ติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมง หาเวลาทำให้ลำไส้สะอาดปราศจากของตกค้างหมักหมม โดยทำดีท๊อกซ์บ้าง หรือ ทานอาหารน้อย ๆ ทานน้ำให้มากพอ ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ทำสมาธิวิปัสนาเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการเผชิญกับมลพิษต่าง ๆ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถ ไอน้ำมัน ควันบุหรี่ ควันจากการปิ้งย่างและการเผาวัสดุต่าง ๆ
Being translated, please wait..