หากแต่ในสมัยปลายราชวงศ์ชิง ช่วงระยะเวลาที่จีนกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการปกครองนั้น สถานการณ์การเมืองในประเทศของจีนได้ส่งผลสู่ชาวจีนโพ้นทะเลที่อยู่นอกประเทศ เพราะได้มีการเผยแพร่และหาผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวจากชาวจีนที่อยู่ต่างประเทศและประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายนั้น รัฐบาลไทยซึ่งเกรงว่าการเผยแพร่ลัทธิและความคิดในระบบการปกครองเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบการปกครองของไทยจึงได้ออกนโยบาย และมาตรการการควบคุมโรงเรียนจีนออกมา ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นโยบายที่รัฐใช้คือนโยบายกลมกลืน กระตุ้นความเป็นชาตินิยม การออกพรบ.การศึกษา ๒๕๐๕ ออกพรบ.โรงเรียนราษฎร์ ซึ่งเป้าประสงค์ที่แท้จริงคือต้องการควบคุมโรงเรียนจีน หรือช่วงระยะเวลานับแต่ก่อนและหลังสงครามโลกรัฐบาลไทยได้มีนโยบายที่ส่งผลต่อการเติบโตของโรงเรียนจีนอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมผลักดันนโยบายชาตินิยมของจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นผลให้เกิดการปิดตัวของโรงเรียนจีนทั่วประเทศ
และเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน ปีพ.ศ.๒๕๔๙ กระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้ผลักดันแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนนภาษาจีนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ(พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓) ซึ่งเป็นแผนดำเนินการ ๕ ปีขึ้น แผนยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายการพัฒนาดังนี้ ๑) จัดการเรียนการสอนภาษาจีนในทุกระดับชั้นของการศึกษาในประเทศไทย โดยนักเรียน/นักศึกษาในระบบโรงเรียนทุกคนได้เรียนภาษาจีนอย่างมีคุณภาพและผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามสัดส่วน คือเพิ่มขึ้นร้อยละ๒๐ ในทุกช่วงชั้นเรียน ๒)นักเรียนนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษทางภาษาจีน ประมาณ ๔,๐๐๐ คน ได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเฉพาะทาง ๓) ประชากรวัยแรงงานได้เรียนภาษาจีน และใช้สื่อสารในการประกอบอาชีพจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ คน แผนนี้มียุทธศาสตร์หลักอยู่ ๕ ยุทธศาสตร์ด้วยกัน คือ