รูปภาพที่ 1 : ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปจีน ปี พ.ศ.2546-2556
ที่มา : เรียบเรียงโดยผู้วิจัยจากข้อมูลสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, สานักมาตรฐานสินค้า, สามาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จะเห็นได้ว่าสาหรับข้าวไทยในตลาดจีน ราวครึ่งหนึ่งเป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นสินค้าเอกลักษณ์ที่มีคุณภาพสูงเป็นพิเศษ (Exotic) ในตลาดจีน โดยถือเป็นข้าวยอดนิยมใน 3 พื้นที่หลักของจีน ได้แก่ (1) มณฑลทางใต้ เช่น กว่างตงและฝูเจี้ยน ที่นิยมบริโภคข้าวเมล็ดยาวเช่นเดียวกับคนไทย (2) มหานครที่มีความเจริญสูง เช่น
เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของกลุ่มคนจีนที่อพยพมาจากทางตอนใต้ ชาวจีนโพ้นทะเล ชาวสิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และชาวตะวันตก (3) เมืองเจริญรุ่งเรืองใหม่ๆ เกือบทุกมณฑลของจีน อาทิ มหานครฉงชิ่ง นคร เฉิงตู นครฉางซา นครคุนหมิง เมืองเวินโจว หนิงปอ ชิงเต่า และต้าเหลียน เป็นต้น โดยรวมแล้วข้าวหอมมะลิไทยจึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้มีรายได้และรสนิยมสูง นอกจากนี้ ยังมีการบริโภคในกลุ่มร้านอาหารและโรงแรม โดยเฉพาะตามร้านอาหารไทย ร้านอาหารกวางตุ้ง และภัตตาคารหรือโรงแรมหรูต่างๆ รวมทั้งนิยมใช้เป็นของขวัญหรือของฝากในเทศกาลสาคัญด้วย
อย่างไรก็ตาม ช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาข้าวหอมมะลิไทยที่ขายในตลาดจีน ต้องประสบปัญหาข้าวหอมมะลิปลอมปนกับข้าวชนิดอื่น แต่กลับถูกเรียกเหมารวมว่าเป็น ข้าวหอมไทย (ไท่กั๋วเซียงหมี่) ในปี พ.ศ.2555 จีนได้หันไปซื้อข้าวหอมจากเวียดนามและกัมพูชาเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากข้าวหอมที่ผลิตในประเทศทั้งสองมีคุณภาพสูงขึ้น ขณะที่ราคาต่ากว่าราคาข้าวหอมมะลิของไทยมาก ปัจจุบัน ประเทศเพื่อนบ้านของไทยทั้งเวียดนาม กัมพูชา และพม่า สามารถผลิตข้าวหอมเพื่อส่งออกมากขึ้น เพราะประเทศเหล่านี้ได้มีการพัฒนาการปลูกข้าวหอมมากขึ้น หลังจากประเทศผ่านพ้นช่วงของสงครามและมีความมั่นคงทางการเมืองมากขึ้น ทาให้ประเทศเพื่อนบ้านกลายเป็นคู่แข่งขันสาคัญที่น่ากลัวยิ่งสาหรับข้าวหอมมะลิไทยในตลาดจีน
ดังนั้น ข้าวหอมมะลิไทยจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยพบว่าปัจจุบันมีผู้ค้าข้าวไทยจานวนหนึ่งที่หันไปนาเข้าข้าวจากกัมพูชาและเวียดนามเพื่อส่งออกในนามข้าวหอมมะลิไทย อีกทั้งยังพบปฏิบัติการใช้ข้าวผ่านชายแดนในการสวมสิทธิ์ อาศัยประโยชน์จากนโยบายจานาข้าว ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อชื่อเสียงและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยในตลาดจีนตราบที่ยังมีการเปิดช่องดังกล่าว
2. ประเภทข้าวไทยที่ขายในตลาดจีน
จากการสุ่มสารวจผลิตภัณฑ์ข้าวถุงที่จาหน่ายในประเทศจีนทั้งหมด 116 รายการ พบรายชื่อผู้ส่งออก 20 บริษัท และผู้นาเข้า 26 บริษัท สามารถจาแนก สินค้าข้าวถุงออกได้ 4 ประเภทใหญ่ คือ
ตารางที่ 1 : ประเภทข้าวไทยที่จาหน่ายในตลาดจีน ประเภท ยี่ห้อ รายการ
1. ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ หรือ ที่ใช้ชื่อว่าข้าวหอมไทย
52
83
2. ข้าวหอมกัมพูชา
3
3
3. ข้าวหอมจีนที่มีศักยภาพเป็นคู่แข่งข้าวหอมไทย
15
24
4. ข้าวที่ตั้งชื่อสื่ออัตลักษณ์ไทย
(แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้าวไทยอย่างสิ้นเชิง)
5
6 รวม 75 116
ที่มา : ผู้วิจัย
สาหรับราคาขายของข้าวไทยในตลาดจีนจากการสารวจ พบว่า ข้าวหอมทั่วไป เช่น ข้าวหอมปทุมจะมีราคาขายเฉลี่ยประมาณ 60-70 หยวนต่อ 5 กิโลกรัม ข้าวหอมมะลิไทยแท้จะขายราคาเฉลี่ยประมาณ 80-100 หยวนต่อ 5 กิโลกรัม ส่วนข้าวหอมกัมพูชาจะมีราคาถูกกว่าเล็กน้อย ซึ่งย่อมดึงดูดใจให้ลูกค้ากลุ่มที่อ่อนไหวต่อราคาสินค้า หันไปลิ้มลอง
ขณะที่ข้าวหอมคู่แข่งของจีนมีหลายเกรด ทั้งที่ถูกกว่าข้าวหอมไทยกว่าครึ่ง หรือมีราคาในระดับเดียวกัน หรือแม้แต่แพงกว่าข้าวหอมไทยมาก และบางยี่ห้อที่แพงกว่าไทยนั้น ในบางห้างกลับเป็นสินค้าที่ขายดีด้วย นั่นย่อมแสดงว่า ผู้บริโภคชาวจีนสมัยใหม่นั้น เน้นเรื่องคุณภาพ ความพึงพอใจ มากกว่าราคา
ส่วนกลุ่มที่เลียนแบบชื่อที่สื่อความเป็นไทยนั้น โดยเฉลี่ยแล้วจะมีราคาถูกว่าข้าวไทยแท้เกือบครึ่งหนึ่ง ลักษณะเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ข้าวไทยเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมและยอมรับจากผู้บริโภคจีนอย่างสูง จนถึงขนาดที่มีผู้ผลิตข้าวจีนต้องอาศัยชื่อเสียงหรืออัตลักษณ์ความเป็นไทยมาเป็นจุดขาย อย่างไรก็ตาม ด้วยความใกล้เคียงของชื่อ ย่อมจะส่งผลให้ผู้บริโภคจีนบางกลุ่มเกิดความเข้าใจผิดต่อรสชาติข้าวไทยที่แท้จริง
3. พฤติกรรมผู้บริโภคจีน
จากการสารวจตลาดจีนร่วมกับการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามผู้บริโภคจีนในเมืองหูหนัน เฉิงตู กว่างโจว และเซี่ยงไฮ้ สามารถสรุปทัศนดติและพฤติกรรมผู้บริโภคจีนต่อข้าวไทย ได้ดังนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วไม่สามารถจาแนกข้าวถุงที่บรรจุจากประเทศไทย หรือ Original Pack (รหัสบาร์โค๊ตขึ้นต้นด้วย 885) กับแบบ Repack (รหัสบาร์โค๊ตขึ้นต้นด้วย 692) ที่บรรจุใหม่ในประเทศจีนได้ ผู้บริโภคจีนให้ความสนใจหรือจดจาตราสินค้ามากกว่ามาตรฐานรับรองคุณภาพสินค้า ที่สาคัญชาวจีนส่วนใหญ่เข้าใจว่าข้าวหอมไทย (ไท่กั๋วเซียงหมี่) คือ ข้าวหอมมะลิ (ไท่กั๋วม่อลี่เซียงหมี่) เมื่อซื้อข้าวหอมธรรมดาไปบริโภค จึงรู้สึกว่าข้าวหอมมะลิไทยไม่หอมหรือไม่อร่อยเหมือนที่ร่าลือ จนสุดท้ายนาไปสู่การแสวงหาผลิตภัณฑ์ข้าวหอมประเภทอื่นแทน ซึ่งปัจจุบัน มีข้าวหอมคู่แข่งทั้งที่เป็นพันธุ์ข้าวหอมของจีนเอง เช่น เต้าฮวาเซียง หรือข้าวหอมจากกัมพูชา ฯลฯ
4. การนาเสนอผลิตภัณฑ์ข้าวไทยประเภทใหม่ๆ สู่ตลาดจีน
ผู้ส่งออกข้าวไทยทั้งหลายสามารถเพิ่มสินค้าข้าวหอมมะลิรูปแบบใหม่ๆ ให้เป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคจีนยุคใหม่ ที่มีพฤติกรรมชอบความหลากหลาย ชอบสินค้าแปลกใหม่มากขึ้น อาทิ
o ผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสาเร็จรูปที่ทาจากข้าวหอมมะลิ
o ผลิตภัณฑ์พร้อมรับประทาน เช่น เมนูอาหาร + ข้าวไทยแช่แข็งต่างๆ
o ข้าวหอมมะลิไทยสาหรับเมนูอาหารที่หลากหลาย เช่น ข้าวหอมมะลิใหม่ที่เหมาะแก่การทาข้าวต้ม ข้าวหอมมะลิเก่าที่เหมาะแก่การทาข้าวผัด ฯลฯ
o ข้าวหอมมะลิเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวกล้อง, ข้าวหอมนพเก้า, ข้าว 9 สี 9 สมุนไพร
o ข้าวหอมมะลิบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก เช่น 500 กรัม 1 ก.ก. หรือ 2 ก.ก. เพื่อดึงดูดการตัดสินใจทด